14 กันยายน 2553

สุวัฒน์ สุดวิลัย


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการทำงาน ว่าเมื่อสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดขดลวด หรือขดลวดเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กก็จะได้ไฟฟ้าออกมา
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วนคือ ส่วนที่สร้างสนามแม่เหล็ก เรียกกว่า ฟิลด์ และส่วนที่สร้างแรงดันไฟฟ้าเรียกว่าอาเมเจอร์
ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ฟิลด์จะเป็นส่วนที่อยู่กับที่ อาเมเจอร์จะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ แต่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ฟิลด์และอาเมเจอร์ สามารถเป็นได้ทั้งส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่หมุน
โดยในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก จะสามารถสร้างได้ทั้งแบบฟิลด์และอาเมเจอร์หมุน แต่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ จะสร้างได้แต่แบบอาเมเจอร์อยู่กับที่เท่านั้น เพราะจะมีปัญหาน้อยกว่า
แรงดันที่เกิดขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองตัวคือ ความเร็วรอบและเส้นแรงแม่เหล็ก
ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเราสามารถเพิ่มแรงดันไฟฟ้าขึ้นได้โดย การปรับความเข้มของสนามแม่เหล็ก และเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องกำเนิด แต่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับการเพิ่มแรงดันโดยการเพิ่มความเร็วไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะจะทำให้ความถี่ของแรงดันไฟฟ้าที่ได้เปลี่ยนแปลงไป สามารถทำได้เพียงการปรับความเข้มของสนามแม่เหล็กเท่านั้น

กังหันลม
กังหันลม คือเครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับและแปลงพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ และนำพลังงานกลมาใช้เพื่อสูบน้ำโดยตรงหรือผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณจนถึงยุคปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลมต้องอาศัยความรู้ทางด้านพลศาสตร์ของลมและหลักวิศวกรรมศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ เพื่อให้ได้กำลังงาน พลังงาน และประสิทธิภาพสูงสุด
ชื่อในภาษาอังกฤษของกังหันลมได้แก่ wind turbine, wind generator, wind power unit (WPU), wind energy converter ซึ่งจะแตกต่างกับกังหันลมยุคเก่าที่ใช้คำว่า windmill

รูปแบบเทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลมสามารถแบ่งออกตามลักษณะการจัดวางแกนของใบพัดได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
  1. กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine (VAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ
  2. กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Turbine (HAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม

[แก้] ส่วนประกอบของเทคโนโลยีกังหันลม

  1. กังหันลมเพื่อสูบน้ำ (Wind Turbine for Pumping) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลเพื่อใช้ในการชักหรือสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงเพื่อใช้ในการเกษตร การทำนาเกลือ การอุปโภคและการบริโภค ปัจจุบันมีใช้อยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบระหัดและแบบสูบชัก
  2. กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Wind Turbine for Electric) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล จากนั้นนำพลังงานกลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานทั้ง กังหันลมขนาดเล็ก (Small Wind Turbine) และกังหันลมขนาดใหญ่ (Large Wind Turbine)

13 กันยายน 2553

HRK ออฟลูกเดิมทีม

การแข่งขัน แดร๊กไบค์ หรือ ควอเตอร์ไมล์ ที่กำลังฮิตติดลมบนในบรรดาวัยรุ่นนักแข่ง (ไม่ใช่พวกซิ่ง) แม้ว่าไม่ได้ถูกบรรจุเข้าไปเป็นกีฬาอาชีพ เหมือนกับรถแข่งแบบ เรซซิ่ง และซูเปอร์ครอส แต่ความนิยมของคนแข่งในกลุ่มนี้ก็ไม่มีทีท่าว่าจะเจือจางลงไป






โช้คเดี่ยว ซับแรงจุดเดียว ทำให้ทรงตัวดี ชุดเบรกหน้า ของเดิม ยกมาทั้งยวงเอาอยู่

อาจจะมีบ้างแต่ก็แค่ประปราย ไม่น่าตกใจเท่าไหร่ นิตยสารมอเตอร์ไซค์ ไม่ได้มีเจตนาที่จะส่งเสริม หรือยุยงกลุ่มผู้แข่งขันความเร็วประเภทนี้ แต่ก็อดที่จะเห็นใจไม่ได้ เพราะไม่เชื่อว่าการแข่งขันประเภทนี้จะมีอันตรายที่ไม่สามารถป้องกันได้ อยากให้ผู้หลัก ผู้ใหญ่ลงมาสัมผัสโดยตรงให้ชัดกว่านี้ อย่าทำแค่ฟังข้อมูลแล้วนำไปตัดสิน



การแข่งขัน แดร๊กไบค์ หรือควอเตอร์ไมล์ เป็นการส่งเสริม และสรรค์สร้าง รวมถึงเป็นการพัฒนาฝีมือช่าง และนักแข่งให้ต้องคิด และปรับปรุงแก้ไขเครื่องยนต์ กลไก และเรียนรู้เทคนิคการควบคุมรถไปในเวลาเดียวกัน



แทนที่จะกีดกัน เรามาช่วยกันวางมาตรการป้องกันสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับพวกเขาดีกว่า เพราะ กีฬาประเภทนี้จะทำให้วัยรุ่นวัยแรงบ้านเรา ฝักใฝ่กับการแข่งขัน มากกว่าที่จะไปนั่งพี้ยา เป็นแน่แท้ แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการคุยกันของผู้ใหญ่เขาล่ะ



สำหรับรถแรงแต่งแบบ แดร๊กไบค์ หรือควอเตอร์ไมล์ คันล่าสุด เป็นผลงานการโมดิฟายของค่าย แดง บางทราย ที่ได้รับการกล่าวขานในด้านความเร็ว…แรง จนถึงขนาดยืนแป้นแชมป์มาแล้วหลายครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาว่ากันเลยครับว่า รถแรง! ซุ้ม น้าแดง บางทราย เขาโมฯ กันอย่างไร ทำไมถึง แรง…โคตร…!!!





ข้อมูลจำเพาะ HONDA NOVA DASH NO.13

ชื่อทีมแข่ง ฮอนด้า เชลล์แอ็ดว้านซ์ ไออาร์ซี แดงบางทราย

ชื่อนักแข่ง ปภัทร์ ปั้นชู

รถแข่ง HONDA NOVA DASH125

หมายเลข 13

ลงแข่งขันในรุ่น open 160 C.C.

รายละเอียดการโมดิฟาย

ฝาสูบ ปาดให้มีความจุ 15.5 ซี.ซี.

เสื้อสูบ พอร์ทไอดี ยก 42 มม.

พอร์ทไอเสีย ยก 25 มม. ขยาย 44

ลูกสูบ ใช้ลูก RG 150 (STD)

ก้านสูบ เดิม

คาร์บูเรเตอร์ ของ KEIHIN ขนาด 36 mm.

นมหนูอากาศ เซ็ทมาลงตัวที่เบอร์ 52

นมหนูน้ำมัน แม็ทช์กันที่เบอร์ 145

รอบอากาศ จูนให้ลงตัวที่ 1 รอบครึ่ง

ระบบไฟ กล่องโมฯโดยช่างไทย ภายใต้รหัส DBS

หัวเทียน NGK 10 EGV

ชุดคลัทช์ เดิม

ชุดเกียร์ 1,2,5,6 เปลี่ยน

รีดวาล์ว ใช้รีดของ NSR 150 SP

แผงคอหน้า เดิม

ปะกับคันเร่ง ของ RS 125

กันสะบัด โอลิน ยอดฮิต

โช้คอัพหน้า เดิม ตัดออก 3 นิ้ว

โช้คอัพหลัง ยกยวงของ CBR 150 มาลง

วงล้อหน้า ขนาด 120-17

วงล้อหลัง ขนาด 160-17

ขนาดยางหน้า เบอร์ 45/90-17

ขนาดยางหลัง เบอร์ 60/90-17

สเตอร์หน้า ไล่มาลงตัวที่ 14 ฟัน

สเตอร์หลัง รับกับสเตอร์หลังที่ 29 ฟัน

โซ่ เบอร์ 415 ของ D.I.D

ท่อไอเสีย ท่อสูตรเฉพาะรถแรง DBS

เบรกหน้า เดิม

เบรกหลัง ดรัมเบรก

งบประมาณ 150,000 บาท







คาร์บูฯ ไคฮิน ขนาด 36 มม. ทำหน้าที่ชงแล้วจ่ายส่วนผสม ท่อลอดท้อง ของขลัง ของน้าแดงเขา



บอกแล้วครับว่า เป็นสูตรแต่งรถแรง ดีกรีแชมป์ที่ไม่เคยเปิดเผยให้ใครสุดๆ แต่ครั้งนี้ ทีมงานนิตยสารมอเตอร์ไซค์ เดินทางเข้าไปขอเจาะกระโหลกแบบว่าไม่มีอะไรมาปิดบัง เพื่อประโยชน์กับผู้อ่านที่ต้องการสูตรโมฯรถแรง…ของจริง จากค่าย DBS แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้นต้องขอบอกเอาไว้ก่อนว่า สูตรโมฯที่ได้มาจะขลัง และมีประสิทธิผล ต้องลงแข่งในสนามแข่งที่ถูกต้อง ถูกกฏหมาย ถึงจะได้ผลนะครับ พบกันใหม่กับรถแรงคันต่อไป รับประกันความสะใจ…ไว้ตรงนี้เลยครับ สวัสดี